1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
ตอบ 1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2540 ไทยเริ่มมีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้บังคับ ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ในเอกสารชุดนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นหลัก
2.พระราชบัญญัติ คือ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
3.พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
4.เทศบัญญัติ คือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พศ.2542
ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี
ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ ให้คณะเทศมนตรีมีอำนาจออกเทศบัญญัติเพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมสภา เทศบาลคราวต่อไปถ้าสภาเทศบาลอนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวก็เป็นอันตกไปแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็น ไประหว่างใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น
การประกาศใช้ ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พศ.2542
ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี
ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ ให้คณะเทศมนตรีมีอำนาจออกเทศบัญญัติเพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมสภา เทศบาลคราวต่อไปถ้าสภาเทศบาลอนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวก็เป็นอันตกไปแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็น ไประหว่างใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น
การประกาศใช้ ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ดิฉันคิดว่าในปัจจุบันกฎหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้หนังสือสัญญาที่รัฐบาลทำกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศในเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญนั้น ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเนื่องจากไม่มีความชัดเจนพอเพียง จึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไปได้โดยให้มีการตรากฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของหนังสือสัญญาที่จะต้องมีลักษณะใดจึงจะนำเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบ เป็นสิ่งที่ดีในการพัฒนาทุกด้านของประเทศเรา
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 112 ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่นัก เป็นเรื่องพยายามถกเถียงเพื่อนเอาชนะกันมากกว่า ซึ่งมีคนอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน กลุ่มหนึ่งอาจจะไม่ปกติ อยากจะทำโน่นทำนี่ โดยไม่คิดว่าอะไรควรไม่ควร แต่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น กลุ่มที่ 2 คือ นักวิชาการบางกลุ่ม ซึ่งเป็นนักวิชาการส่วนใหญ่กว่า 90% ยังรักและเทิดทูนสถาบัน อยากจะเรียนไปยังบางส่วนว่า ต้องกลับไปทบทวนว่า ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ท่านครองราชย์มาจนมีพระชนมายุ 84 พรรษามาแล้ว แต่คนที่เป็นนักวิชาการอายุเพียงแค่ 30-40 ปีเรียนหนังสือจบมาแล้วไปเรียนต่อเคยได้ทำคุณประโยชน์อะไรให้กับแผ่นดินบ้างหรือไม่เพียงแค่เรียนหนังสือจบมา แล้วเอาความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อจะแก้โน่น แก้นี่ ซึ่งยังไม่เคยลองปฏิบัติอะไรสักอย่างค่ะ”
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ
กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
แดน
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ
กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
แดน
ตอบ ปัญหานี้ดิฉันมองว่า เป็นข้อพิพาทระหว่างประสาทพระวิหารจนบานปลายไปสู่ระดับนานาชาติ เพราะรัฐบาลของกัมพูชายืนยันว่าจะไม่ยอมเจรจรากับทวิภาคีของไทย เราจะต้องร่วมมือกันในฐานะนักศึกษาพัฒนาตนเองและค่อยช่วยกันสอนทุกคนที่เรารู้จักให้มาช่วยกันพัฒนาเพื่อต่อไปเชื่อมโยงไปสู่ 10 ประเทศอาเซียน เพื่อช่วยพัฒนาบ้านเมือง นำความสงบสุขมาสู่อาเซียน
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วยเพราะการศึกษาจะต้องมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์บังคับสำหรับคนเรา เพราะถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันที อย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย
การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกัน
คุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ 1. การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้
2.การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
3.การศึกษาตลอดชีวิต คือ การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.การศึกษาในระบบ คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5.การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
6.การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
7.สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
8.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แนวแผนในการคิดและการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการอบรมให้การศึกษาแก่สมาชิกใหม่ ของสังคม รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วย
9.มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)
10.การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษาน่ันเอง หรือโดยหน่วยงานสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
11.การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สํานักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
12.ผู้สอน ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
13.คณาจารย์ คือ คณาจารย์ประจำในสถาบันและพนักงานของรัฐที่ทำงานการสอนและวิจัย ซึ่งได้แก่ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
14.ผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารที่มุ่งส่งเสริมพัฒนา บริหารจัดการและดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มุ่งมั่นในการที่จะจัดการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ โดยให้เกิดผลในทุกมิติกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ของชุมชนเป็นชุมชนที่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่ความเป็นสถานศึกษาสมบูรณ์
15.บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น
ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด
กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ผิดค่ะ เพราะปัจจุบัน ครูรับจ้างสอนโดยไม่ได้บรรจุมีเยอะแยะมากมายโดยเฉพาะดรงเรียนเอกชนค่ะ เนื่องจากอัตราครูได้รับบรรจุมีน้อย ทางโรงเรียนเอกชนจึงรับครูทุกสาขาวิชาไม่ต้องจบด้านสายครูก็ได้ มาสอนนักเรียนก่อน มันจึงไม่ผิดอย่างแน่นอน เพราะครูซึ่งมาให้ความรู้แแก่นักเรียนย่อมเป็นสิ่งที่ดี ส่งผลถึงความก้าวหน้าของเยาวชนได้
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ ครูผู้ช่วย ทุกวุฒิทางการศึกษา และต้องจบปริญาตรีเป็นอย่างต่ำรวมทั้งต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู นอกจากนั้นยังกำหนดให้ครูผู้ช่วยต้องผ่านการทดลองงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ เมื่อเรียนวิชา ดิฉันคิดว่า เป็นการเรียนที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างยิ่ง เทคโนโลยีก้าวไกลไปอย่างมาก การจัดการเรียนการสอนแบบ Webblog จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับดิฉัน ประหยัดทรัพยากร เวลา ได้เยอะทีเดียวค่ะ ดิฉันชอบการสอนแบบนี้มาก มันง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติค่ะ ดิฉันคิดว่าควรให้เกรดในรายวิชานี้ A ค่ะ ชอบมาก มันง่ายและสะดวกดีค่ะ เหมาะสำหรับนักศึกษายุคใหม่อย่างพวกเราค่ะ ดิฉันคิดว่า ตัวเองน่าจะได้ A ค่ะ เพราะดิฉันตั้งใจทำงานและเรียนในรายวิชานี้ เพราะโดยส่วนตัวชอบการเรียนการสอนแบบนี้อยู่แล้วค่ะ
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย
การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกัน
คุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ 1. การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้
2.การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
3.การศึกษาตลอดชีวิต คือ การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.การศึกษาในระบบ คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5.การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
6.การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
7.สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
8.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แนวแผนในการคิดและการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการอบรมให้การศึกษาแก่สมาชิกใหม่ ของสังคม รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วย
9.มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)
10.การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษาน่ันเอง หรือโดยหน่วยงานสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
11.การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สํานักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
12.ผู้สอน ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
13.คณาจารย์ คือ คณาจารย์ประจำในสถาบันและพนักงานของรัฐที่ทำงานการสอนและวิจัย ซึ่งได้แก่ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
14.ผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารที่มุ่งส่งเสริมพัฒนา บริหารจัดการและดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มุ่งมั่นในการที่จะจัดการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ โดยให้เกิดผลในทุกมิติกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ของชุมชนเป็นชุมชนที่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่ความเป็นสถานศึกษาสมบูรณ์
15.บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น
ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด
กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ผิดค่ะ เพราะปัจจุบัน ครูรับจ้างสอนโดยไม่ได้บรรจุมีเยอะแยะมากมายโดยเฉพาะดรงเรียนเอกชนค่ะ เนื่องจากอัตราครูได้รับบรรจุมีน้อย ทางโรงเรียนเอกชนจึงรับครูทุกสาขาวิชาไม่ต้องจบด้านสายครูก็ได้ มาสอนนักเรียนก่อน มันจึงไม่ผิดอย่างแน่นอน เพราะครูซึ่งมาให้ความรู้แแก่นักเรียนย่อมเป็นสิ่งที่ดี ส่งผลถึงความก้าวหน้าของเยาวชนได้
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ ครูผู้ช่วย ทุกวุฒิทางการศึกษา และต้องจบปริญาตรีเป็นอย่างต่ำรวมทั้งต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู นอกจากนั้นยังกำหนดให้ครูผู้ช่วยต้องผ่านการทดลองงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ เมื่อเรียนวิชา ดิฉันคิดว่า เป็นการเรียนที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างยิ่ง เทคโนโลยีก้าวไกลไปอย่างมาก การจัดการเรียนการสอนแบบ Webblog จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับดิฉัน ประหยัดทรัพยากร เวลา ได้เยอะทีเดียวค่ะ ดิฉันชอบการสอนแบบนี้มาก มันง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติค่ะ ดิฉันคิดว่าควรให้เกรดในรายวิชานี้ A ค่ะ ชอบมาก มันง่ายและสะดวกดีค่ะ เหมาะสำหรับนักศึกษายุคใหม่อย่างพวกเราค่ะ ดิฉันคิดว่า ตัวเองน่าจะได้ A ค่ะ เพราะดิฉันตั้งใจทำงานและเรียนในรายวิชานี้ เพราะโดยส่วนตัวชอบการเรียนการสอนแบบนี้อยู่แล้วค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น