วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค

ทดสอบกลางภาค
 
1.กฎหมาย คือ อะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ   หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
       หลักความเสมอภาคถือเป็นหลักพื้นฐานประการหนึ่งในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ ถิ่นกำเนิด เป็นต้น หลักความเสมอภาคเป็นหลักประกันความเสมอภาคของพลเมืองทุกคนตามกฎหมาย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นหลักประกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ


2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ    จำเป็นต้องมี การที่เราเรียนมา จะต้องไปสอบใบประกอบวิชาชีพเป็นครูเพื่อจะนำไปทำงานถ้าไม่มีใบนี้ ก็จะไม่สามารถทำงานเป้นครูที่ดีได้ ก่อนมีใบประกอบวิชาชีพเราก้ต้องสอบ ตัวอย่าง เช่น สอบ ความเป็นครู ความรู้จริง ความมีคุณธรรม ความมีจิตวิทยาในการสอบเด็ก ความซื่อสัตย์ เป็นต้น และ เมื่อมีใบประกอบวิชาชีพ ถ้ามีเรื่องไม่ดีก็สามารถ ถอนการเป็นครูได้ ถ้าเป็นครูที่ดี ก็จะ มีระดับในการเลื่อนขั้นครูตามใบประกอบวิชาชีพ
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ  1.ประชุมเรียกคนในหมู่บ้าน ในเรื่องการระดมทุนเพื่อนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
          ให้นักเรียนในหมู่บ้านเพื่อเขียนโครงการ
          2.จัดหากล่องรับบริจาคสมทบทุน รับบริจาคจากคนในหมู่บ้านตนเองก่อนและค่อยขยายไปในหมู่บ้านอื่นๆ
          3.เขียนโครงการยื่นไปหน่วยงานเกี่ยวกับการศึกษาภายในจังหวัด จัดของบประมาณเพื่อสร้างทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้กับเด็กในหมู่บ้าน
         4.ดำเนินการจัดสร้างทรัพยากรเพื่อการศึกษา หากได้รับเงินมากเพียงพอแล้ว

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ  การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
         (1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา มี 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา
   


5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  แตกต่างกัน คือ
      1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
1.1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป

   
        2.การศึกษาภาคบังคับ
การศึกษาภาคบังคับหมายความว่า การศึกษาชั้น ป.1-ม.3 ของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ    เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภทต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐบาล รัฐและเอกชนต่างมีส่วน ร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม พัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ สำนักงานรัฐมนตรี ๒ สำนักงานปลัดกระทรวง

         ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

        ๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๖ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ
      กฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญ คือ  แก้ไขพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ (1) สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษา ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ(2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้งบริหารจัดการองค์การค้าของคุรุสภา


8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่กระทำผิด ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้เป็นครั้งคราวหรือสอนประจำถือว่าเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ 
     โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2551
มี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุ
อันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
นอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควร
งดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ
เงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา
2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์
เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จ
บำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ
บำนาญ


10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ
 
      เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่
เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มี
พฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อตนเองหรือส่งผลคนข้างเคียง
    เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา
มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
    เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ
บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ
ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้
    เด็กพิการหมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา
หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
     เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ
ศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น